เว็บบอร์ด

กระทู้ ถามตอบโหราศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์

ปิดปรับปรุงชั่วคราว

ชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์วันที่6.6.2012

เอกสารแถลงข่าว

ปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ : ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555

สมาคมดาราศาสตร์ไทย

http://thaiastro.nectec.or.th

นายอารี สวัสดี

นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย

081-806-6068

ในวันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ที่สังเกตเห็นได้ทั่วประเทศไทย ในอดีต เกิดขึ้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 และก่อนหน้านั้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราช ซึ่งเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ และรอคอยเฝ้าสังเกตการณ์จากนักดาราศาสตร์ทั่วโลก ซึ่งจะมีประชาชนที่ร่วมสังเกตการณ์เกือบสองพันล้านคน หากไม่ได้ร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้ จะต้องรออีกถึง 105 ปีข้างหน้า

ปรากฏการณ์ครั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสมาคมดาราศาสตร์ไทย ร่วมกันจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งจะเกิดปรากฏการณ์ในเช้าถึงเที่ยง วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 ณ บริเวณสนามหน้าตึกบัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก จังหวัดนครนายก

จึงขอเรียนเชิญประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมรับเสด็จและร่วมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์แห่งศตวรรษนี้ และขอเชิญชมนิทรรศการ และชมวิธีการดูดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อย่างถูกต้อง และปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ดาราศาสตร์ชนิดต่าง ๆ เช่นกล้องโทรทรรศน์ชนิดต่าง ๆ กล้องกาลิเลโอ กล้อง sun ood หรือมองผ่านแว่นสุริยะ ที่มีความปลอดภัยต่อดวงตา จากรังสีอินฟราเรด และอัลตร้าไวโอเลต

ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมดาราศาสตร์ไทย thaiastro.nectec.or.th หรือที่เบอร์โทร 02-381-7409-10

.............................................

ขอเชิญชาวกล้องกาลิเลโอทุกท่านร่วมงาน "ชมปรากฎการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6.6.2012


Admin - 1 มิถุนายน พ.ศ.2555 18:13น. (IP: 115.67.128.75)

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ วันที่ 6.6.2012

กรุงเทพสามารถชมปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลา 11.49 น. ขอเชิญผู้สนใจศึกษาวิธีการดูอย่างปลอดภัย และความรู้ในเรื่องดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในลักษณะอย่างไร? ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2012vt.html

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ : 6 มิถุนายน 2555วรเชษฐ์ บุญปลอด 13 พฤษภาคม 2555ช่วงชีวิตของคน ๆ หนึ่ง มีโอกาสสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง วันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ได้เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 122 ปี เห็นได้ในประเทศไทยระหว่างเวลาประมาณ 12:13 – 18:21 น.

วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ให้เห็นได้ในประเทศไทยอีกครั้ง และนับเป็นครั้งสุดท้ายในศตวรรษนี้ (ทั้งพุทธศตวรรษที่ 26 และคริสต์ศตวรรษที่ 21) หลังจากครั้งนี้ คู่ถัดไปจะเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2660 (ค.ศ. 2117) และ พ.ศ. 2668 (ค.ศ. 2125)

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน มีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ดาวศุกร์เคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่าการร่วมทิศแนววงใน (inferior conjunction) เฉลี่ยทุก ๆ 584 วัน (ประมาณ 1 ปี 7 เดือน) แต่ไม่เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ทุกครั้ง เนื่องจากระนาบวงโคจรของดาวศุกร์ไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกับระนาบวงโคจรของโลก แต่ทำมุมเอียงประมาณ 3.4° ช่วงที่มีโอกาสจะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ จึงต้องเป็นช่วงที่เกิดการร่วมทิศแนววงในตรงบริเวณใกล้จุดตัดระหว่างระนาบทั้งสอง ซึ่งมี 2 จุด จุดที่ดาวศุกร์เคลื่อนจากใต้ระนาบวงโคจรของโลกขึ้นมาเหนือระนาบดังกล่าว เรียกว่าจุดโหนดขึ้น (ascending node) อีกจุดหนึ่งอยู่ตรงข้าม เป็นจุดที่ดาวศุกร์เคลื่อนจากเหนือระนาบวงโคจรของโลกลงไปใต้ระนาบ เรียกว่าจุดโหนดลง (descending node)

เมื่อเกิดการผ่านหน้า ดาวศุกร์จะปรากฏเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กบนผิวหน้าดวงอาทิตย์ แม้จะเล็ก แต่ก็ใหญ่พอที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าในยามที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้า หรือเมื่อมองผ่านแผ่นกรองแสงในเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่สูงบนท้องฟ้า ยุคปัจจุบัน ดาวศุกร์มีโอกาสผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้เฉพาะในเดือนมิถุนายนและธันวาคมเท่านั้น ซึ่งเป็นจังหวะที่ดาวศุกร์โคจรผ่านใกล้จุดโหนดลงและจุดโหนดขึ้น ตามลำดับ หากย้อนไปในอดีต 4,000 ปี ดาวศุกร์มีจุดโหนดอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของจุดโหนดในปัจจุบัน สมัยนั้น ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์มีโอกาสเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมและพฤศจิกายน

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดเป็นคู่ ห่างกัน 8 ปี เมื่อเกิดที่จุดโหนดขึ้นคู่หนึ่งแล้ว จะเว้นระยะไป 105.5 ปี จึงเกิดที่จุดโหนดลงอีกคู่หนึ่ง จากนั้นเว้นระยะไปอีก 121.5 ปี จึงกลับมาเกิดที่จุดโหนดขึ้น เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ตลอดไป จึงแบ่งเป็นชุด ๆ ได้ในลักษณะเดียวกับซารอส (saros) ของอุปราคา

ขั้นตอนของปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 มีลำดับขั้นตอนของปรากฏการณ์ที่แบ่งได้เป็น 4 สัมผัส

สัมผัสที่ 1 หรือเริ่มเข้า (external ingress) เกิดขึ้นในจังหวะที่ขอบดาวศุกร์เริ่มแตะขอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์จะเริ่มปรากฏเป็นส่วนโค้งสีดำ เคลื่อนเข้าไปในดวงอาทิตย์ ประเทศไทยไม่สามารถสังเกตสัมผัสที่ 1 ได้ เนื่องจากดวงอาทิตย์ยังไม่ขึ้น

สัมผัสที่ 2 หรือเข้าหมดทั้งดวง (internal ingress) เป็นจังหวะที่ดาวศุกร์ทั้งดวงเคลื่อนเข้าไปอยู่ในวงดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก ขอบดาวศุกร์จะสัมผัสกับขอบด้านในของดวงอาทิตย์ ประเทศไทยไม่เห็นสัมผัสที่ 2 เนื่องจากดวงอาทิตย์ยังอยู่ใต้ขอบฟ้า หลังจากนั้น ดาวศุกร์จะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ เข้าในดวงอาทิตย์ลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ

จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนภาคอื่น ๆ บริเวณชายแดนที่ติดกับประเทศลาวจะเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ขอบดวงอาทิตย์มากที่สุดขณะดวงอาทิตย์ขึ้น จากนั้นเวลาประมาณ 08:32 – 08:33 น. ดาวศุกร์จะเข้าในดวงอาทิตย์ลึกที่สุด นับเป็นกึ่งกลางของปรากฏการณ์

สัมผัสที่ 3 หรือเริ่มออก (internal egress) เกิดขึ้นเมื่อขอบดาวศุกร์สัมผัสกับขอบด้านในของดวงอาทิตย์ และกำลังจะออกจากดวงอาทิตย์ กรุงเทพฯ เกิดขึ้นเวลา 11:32:28 น. ขอบดวงอาทิตย์จะแหว่งเว้าเนื่องจากดาวศุกร์เป็นเวลานานประมาณ 17 นาที

สัมผัสที่ 4 หรือออกหมดทั้งดวง (external egress) เป็นจังหวะที่ดาวศุกร์เคลื่อนออกจากดวงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์ ขอบดาวศุกร์สัมผัสกับขอบด้านนอกของดวงอาทิตย์ นับเป็นการสิ้นสุดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ กรุงเทพฯ เกิดขึ้นเวลา 11:49:50 น.

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ : 6 มิถุนายน 2555สถานที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเข้าในดวงอาทิตย์ลึกที่สุดสัมผัสที่ 3สัมผัสที่ 4กรุงเทพฯ05:51 น.08:32:25 น.11:32:28 น.11:49:50 น.ขอนแก่น05:36 น.08:32:13 น.11:32:20 น.11:49:41 น.จันทบุรี05:46 น.08:32:23 น.11:32:15 น.11:49:37 น.เชียงใหม่05:47 น.08:32:18 น.11:32:49 น.11:50:10 น.นครราชสีมา05:42 น.08:32:18 น.11:32:21 น.11:49:43 น.ประจวบคีรีขันธ์05:57 น.08:32:30 น.11:32:28 น.11:49:50 น.สงขลา06:02 น.08:32:36 น.11:32:12 น.11:49:35 น.อุบลราชธานี05:30 น.08:32:10 น.11:32:04 น.11:49:26 น.


admin - 1 มิถุนายน พ.ศ.2555 18:35น. (IP: 115.67.128.75)