ปฏิทินจัดพิมพ์แยก 3 เล่ม (สั่งซื้อโปรดแจ้งเล่มที่ต้องการ)

1. พ.ศ.2461 - พ.ศ.2500
2. พ.ศ.2501 - พ.ศ.2540
3. พ.ศ.2541 - พ.ศ.2580

ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยฉบับนี้ คำนวณสมผุสดาวพระเคราะห์ระบบดาราศาสตร์ไทย ตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ เนื่องจากความแตกต่างกันของปฏิทินโหราศาสตร์ไทย รูปแบบ กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดของปฏิทินฯ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ทราบถึงที่มาที่ไป สรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

① ปฏิทินโหราศาสตร์ไทยฉบับนี้ คำนวณตำแหน่ง/สมผุสดาวระบบดาราศาสตร์ไทย ตามคัมภีร์สุริยยาตร์และคัมภีร์มานัตต์ ปฏิทินฯ คำนวณสมผุสดาวรายวัน ณ เวลา 24:00น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) , เวลาที่แสดงในปฏิทินฯ ฉบับนี้เป็นเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) ทั้งหมด *

เวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00) เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ.2463 ก่อนนี้ ประเทศไทยใช้เวลาเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) เป็นเวลามาตรฐาน ดังนั้นการใช้ปฏิทินฯ หลัง 1 เมษายน พ.ศ.2463 ต้องปรับฐานเวลาที่ใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ คือเวลามาตรฐานประเทศไทย (UTC+07:00)  โดยนำเวลาท้องถิ่นกรุงเทพฯ (UTC+06:42) หรือ เวลาในปฏิทินฯ บวกเพิ่ม 18 นาที

② เวลาดาว ย้ายราศี ย้ายฤกษ์ ย้ายดิถี ในปฏิทินฯ ฉบับนี้ เป็นผลที่ได้จากการคำนวณ ราศี ฤกษ์ ดิถี ทุก ๆ นาทีในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 00.00น.–24.00น. (รวม 1,440 นาที) นำผลคำนวณเปรียบเทียบนาทีต่อนาที เพื่อหาเวลานาทีย้ายราศี ย้ายฤกษ์ ย้ายดิถี จริง

③ สมผุสดาวเนปจูน (น) และ ดาวพลูโต (พ) คำนวณสมผุสตามปฏิทินโหราศาสตร์ไทย นิรายนะวิธี ลาหิรี ณ เวลา 24:00น. 

④ ดาวโคจรวิปริต พักร์ (พ.) ดาวโคจรถอยหลัง , มณฑ์ (ม.) ดาวโคจรช้ากว่าปรกติ เกิดช่วงก่อนและหลังพักร์ และ เสริต (ส.) ดาวโคจรเร็วกว่าปรกติ , การโคจรวิปริตพักร์ พิจารณาองศา ความเร็ว ซึ่งลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนหน้า ส่วน มณฑ์ และ เสริต พิจารณาเปรียบเทียบความเร็วการโคจร กับค่าความเร็วเฉลี่ย , เพื่อการแสดงผลที่ต่อเนื่องได้ปรับแก้อนุวักกะ หรือ สมผุสกระโดดในบางช่วงเวลาซึ่งเป็นข้อจำกัดของคัมภีร์ฯ

⑤ ปฏิทินฯ ฉบับนี้ เปลี่ยนปีนักษัตร ตามคติพราหมณ์ ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า (๕)

⑥ ก่อนปี พ.ศ.2483 ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ปฏิทินฯ แสดงปี พ.ศ. ที่คาบเกี่ยวกัน เพราะในช่วงเวลานั้นการบันทึกวันเวลาของไทย ยังคงนับวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปี พ.ศ. ในวันที่ 1 เมษายน ดังนั้นปี 
พ.ศ.XXXX (YYYY) ค่าแรก XXXX เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ. บวก 543 คือนับวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ (YYYY) เป็นปี พ.ศ. ของไทยที่ใช้บันทึกเวลาในช่วงนั้น ๆ นับวันที่ 1 เมษายน  เป็นวันขึ้นปีใหม่

และก่อนปี พ.ศ.2432 ปฏิทินฯ แสดงปี พ.ศ. ที่คาบเกี่ยวกัน เพราะในช่วงเวลานั้นการบันทึกวันเวลาของไทยยังคงนับวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปี พ.ศ. ใน วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) หากใช้ปฏิทินฯ ในช่วงเวลาข้างต้น โปรดศึกษากฎเกณฑ์ รวมถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ของปฏิทินฯ โดยละเอียด